รู้จักกายที่แท้จริงของตัวเอง
สัตว์อันราคะย้อมแล้ว ถูกกองอวิชชาหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันละเอียด ลึกซึ้ง ยากที่จะเห็น ละเอียดยิ่ง อันจะยังสัตว์ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแส คือ นิพพาน
ไม่มีอะไรสายเกินไป
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึงก็เป็นอันยังไม่ถึง
คนดีที่โลกต้องการ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นบัณฑิต ฉลาด เป็นสัตบุรุษ ครองตนอันไม่ขาดจากแก่นสาร ไม่ถูกประหารจากคุณธรรม เป็นผู้ไม่มีโทษ ผู้รู้ไม่ติเตียน และได้บุญมากด้วยธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นบัณฑิต
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (๒)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางสุดโต่งสองอย่างบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ การทรมานตัวเองให้ลำบากและการประกอบพัวพันในกาม
ธรรมกาย กายมาตรฐาน
สรีรยนต์นี้ ถูกกรรมปรุงแต่งทำให้เป็นนครแห่งกระดูกทั้งหลาย ฉาบด้วยเนื้อและโลหิต เป็นที่ตั้งลงแห่งชรา มรณะ มานะ และมักขะ
ผู้มีราตรีเดียวเจริญ
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจะมีในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่ ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นว่าผู้มีราตรีเดียวเจริญ
อริยมรรค หนทางสู่ความหลุดพ้น
ท่านทั้งหลายจงดำเนินตามทางที่สร่างความมัวเมา บรรเทาความเศร้าโศก เปลื้องตนให้หลุดพ้นจากสงสาร ซึ่งเป็นที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง โดยความเคารพเถิด
หนทางสู่ธรรมกาย
ดูก่อนวาเสฏฐะ คำว่า ธรรมกายก็ดี คำว่า พรหมกายก็ดี คำว่า ธรรมภูต ก็ดี หรือคำว่า พรหมภูตก็ดี เป็นชื่อของพระตถาคต
รัตนะภายใน
ชนทั้งหลายย่อมแสดงธรรมกาย และไม่อาจทำบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งสิ้นให้กำเริบได้ ใครได้เห็นแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า
ธรรมกายคือหลักของชีวิต
เมื่อใดบัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้นเขาย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด