มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ผู้ไม่ประมาทย่อมถึงบรมสุข
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของก็ตาม ล้วนมีความไม่เที่ยง แปรปรวนอยู่ตลอดเวลา เปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมโทรมทุกอนุวินาที และในที่สุดต้องแตกดับสลายไป มนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วก็ต้องตาย แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเลิศกว่าใครในภพสาม ยังต้องทิ้งพระวรกายของพระองค์ไว้ในโลก และดับขันธปรินิพพาน
มงคลที่ ๑๙ งดเว้นจากบาป - สัตว์ร้าย รักษาอุโบสถ
สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเที่ยว หาอาหาร เห็นช้างตายอยู่ข้างทาง มันดีใจคิดว่า เป็นลาภลอยชิ้นใหญ่ของเราแล้ว จึงตรงเข้าไปกัดที่งวง แต่กัดไม่เข้า จึงเปลี่ยนไปแทะที่งา ก็รู้สึกเหมือนกับแทะแผ่นหิน กัดที่หาง ก็รู้สึกเหมือนกัดสากตำข้าว ครั้นกัดช่องทวารหนักก็รู้สึกว่า ได้กินเนื้อนุ่มๆ จึงเกิดติดใจมุดเข้าไปอยู่ข้างในท้องช้าง แล้วกัดกินเครื่องในอย่างเอร็ดอร่อย
มงคลที่ ๑๗ สงเคราะห์ญาติ - อย่าทอดทิ้งกัน
คนใกล้ชิดของท่านเศรษฐีมักปรารภให้ฟังว่า อย่าเลี้ยงนายกาฬกรรณีไว้เลย เพราะชื่อของเขาไม่เป็นมงคล และยังเป็นคนยากไร้ ไม่มีศักดิ์ศรีเสมอท่านเศรษฐี จะเลี้ยงคนๆ นี้ไว้ทำไม ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ไม่ได้สนใจ กลับตอบว่า บัณฑิต ย่อมไม่ถือมงคลจากชื่อเสียงเรียงนาม เพียงแค่ชื่อที่ไม่เป็นมงคล ถึงกับจะให้ทอดทิ้งเพื่อนที่คบกันมาตั้งแต่เด็กนั้น เราทำไม่ได้ เป็นสิ่งที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง
สุดทึ่ง! “ครูตลอดชีวิต” ศรีสะเกษ - เกษียณแล้ว 15 ปียังมาสอน นร.ไม่เคยขาด
‘Habitat’ โครงการดี เพื่อที่อยู่อาศัย ‘ผู้ยากไร้’
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - รู้เท่าไม่ถึงการณ์ (๔)
สำหรับเรื่องราวในตอนนี้เป็นเรื่องของเปรตเปลือยกาย ต่อจากตอนที่แล้ว เมื่อพระเจ้าอัมพสักขระทรงถวายผ้าเนื้อดี ๘ คู่ แด่พระอรหันต์ด้วยจิตที่เลื่อมใส ครั้นพระเถระรับผ้าของพระราชาแล้ว ก็อนุโมทนาว่า "ขอทักษิณาทานนี้ จงสำเร็จผลแก่เปรตนั้นตามพระราชประสงค์เถิด"
หยุดเป็นตัวสำเร็จ
ดังนั้นก่อนที่จะนั่งสมาธิ ดิฉันก็จะขอบารมีของหลวงปู่ให้เมตตาช่วยฉันด้วย แล้วหลังจากนั้นก็หลับตาลง และบอกกับตัวเองว่า “ หยุด ขณะนี้ฉันจะหยุดคิด จะหยุดพัก” และค่อยๆวางใจเลื่อนลงตามศูนย์กลางกายฐานต่างๆอย่างช้าๆ ลงมาที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ที่กลางท้อง หลังจากนั้นดิฉันก็รู้สึกว่าในตัวไม่มีอวัยวะใดๆเลย รู้สึกเหมือนร่างกายกลวงภายใน และมีแต่ความว่างเปล่า ไม่มีท้อง ไม่มีอะไรเลย และฉันใช้ความรู้สึกเข้าไปสัมผัสที่ดวงแก้วภายในตัว
เดินตามทางของบัณฑิต ตอนที่ ( ๒ )
บุคคลให้ทานไม่ได้เพราะเหตุผล ๒ ประการ คือ ความ ตระหนี่ และความประมาท บัณฑิตผู้รู้แจ้ง เมื่อต้องการบุญพึงให้ทาน คนตระหนี่กลัวความอดอยากยากจน เพราะความกลัวจนนั่นแหละ จะเป็นภัยแก่ผู้ไม่ให้ และจะกลับมามีผลต่อคนพาลผู้หลงผิด ฉะนั้น บัณฑิตพึงครอบงำมลทิน กำจัดความตระหนี่แล้วรีบให้ทาน เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า