การเก็บรักษาสิ่งที่ควรบูชา
ถูปารหบุคคล ๔ เหล่าที่ควรบูชานี้ คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑ สาวกของพระตถาคต ๑ พระเจ้าจักรพรรดิ ๑
หนทางของพุทธะ
ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญทานบารมีข้อแรกให้เต็ม ธรรมดาว่า หม้อน้ำที่คว่ำแล้ว ย่อมคายน้ำออกไม่เหลือ ไม่นำกลับเข้าไปอีกฉันใด แม้ท่านเมื่อไม่เหลียวแลทรัพย์ ยศ บุตร และภริยา ให้สิ่งที่เขาต้องการอยากได้ทั้งหมดแก่ผู้ขอที่มาถึง กระทำมิให้มีส่วนเหลืออยู่ จักได้นั่งที่ควงไม้พระศรีมหาโพธิ์แล้วตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พุทธานุภาพไม่มีประมาณ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นปราชญ์ ขวนขวายในฌาน ยินดีแล้วในธรรมที่เข้าไปสงบระงับ ด้วยสามารถแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ แม้เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ก็ย่อมรักใคร่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีสติเหล่านั้น
พระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้า ตอนที่ 8 การสร้างมหาทานบารมีของสุรุจิพราหมณ์ (2)
นอกจากความอัศจรรย์ในเรื่องของการถวายมหาทาน แด่คณะพระภิกษุสงฆ์กว่าแสนโกฏิรูปแล้ว ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ชวนให้น่าอัศจรรย์ใจเป็นอย่างมาก
สละชีวิตเป็นทาน(ปรมัตถบารมี)
หากว่าปราชญ์พึงเห็นแก่สุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย เมื่อผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์แล้ว ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย
เกิดเป็นลูกผู้ชาย ต้องบวชเป็นลูกพระพุทธเจ้า
ผลบุญจากการบวชพระ แม้จะบวชไม่นาน ขอเพียงตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บุญนั้นก็สามารถยอยกผู้บวชให้บังเกิดในสุคติภูมิตลอดไป
บริจาคดวงตาเป็นทาน(อุปบารมี)
ผู้ให้ของชอบใจย่อมได้ของชอบใจ ผู้ให้ของเลิศย่อมได้ของเลิศ ผู้ให้ของดีย่อมได้ของดี ผู้ให้ของประเสริฐย่อมเข้าถึงฐานะอันประเสริฐ
เนมิราชชาดกบําเพ็ญอธิษฐานบารมี(9)
ชนเหล่าใด เมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้ เหมือนพวกเดินทางไกล ย่อมแบ่งของให้แก่พวกที่เดินทางร่วมกัน ชนเหล่านั้น เมื่อชนอื่นตายแล้ว ก็ชื่อว่าย่อมไม่ตาย ธรรมนี้เป็นของบัณฑิตแต่ปางก่อน ชนพวกหนึ่งเมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้ ชนพวกหนึ่งมีของมากก็ไม่ให้ ทักษิณาที่ให้แต่ของน้อย นับเสมอด้วยพัน
เนมิราชชาดกบําเพ็ญอธิษฐานบารมี(11)
สิ่งใดที่ได้มาเพราะผู้อื่นให้ สิ่งนั้นเปรียบเหมือนยวดยาน หรือทรัพย์ที่ยืมเขามา เพราะฉะนั้น หม่อมฉันไม่ปรารถนาสิ่งที่ผู้อื่นมอบให้ บุญทั้งหลายที่หม่อมฉันทำเองย่อมเป็นทรัพย์ที่จะติดตามหม่อมฉันไป
เนมิราชชาดกบําเพ็ญอธิษฐานบารมี(10)
กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงศึกษาบุญอันสูงสุดต่อไป ซึ่งมีสุขเป็นกำไร คือ พึงเจริญทาน ๑ มีความประพฤติสงบ ๑ เมตตาจิต ๑ บัณฑิตครั้นเจริญธรรม ๓ ประการอันเป็นเหตุเกิดแห่งความสุขเหล่านี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกสวรรค์ อันไม่มีความเบียดเบียน อยู่เป็นสุข