ธรรมกายมีลักษณะอย่างไรและเกิดขึ้นได้อย่างไร
ธรรมกายมีลักษณะเป็นมหาบุรุษครบครั้น ใสเป็นแก้วอยู่ในศูนย์กลางกาย มีลักษณะกายเนื้อของเจ้าชายสิทธัตถะทุกประการ แต่เป็นกายละเอียด
โสฬสญาณ
นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีล อบรมจิตและปัญญา ให้เจริญอยู่ เป็นผู้มีความเพียร มีปัญญารักษาตนรอด ภิกษุนั้นพึงถางชัฏนี้
พระอริยเจ้า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้หมู่สัตว์ถูกธรรมนั้นหุ้มห่อ แล้วท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน เหมือนหมู่สัตว์ผู้ถูกโมหะหุ้มห่อแล้ว ไม่มีเลย ส่วนพระอริยสาวกเหล่าใด ละโมหะแล้ว ทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว พระอริยสาวกเหล่านั้นย่อมไม่ท่องเที่ยวไปอีก เพราะอวิชชาอันเป็นต้นเหตุแห่งสงสาร ย่อมไม่มีแก่พระอริยสาวกเหล่านั้น
รู้จักกายที่แท้จริงของตัวเอง
สัตว์อันราคะย้อมแล้ว ถูกกองอวิชชาหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันละเอียด ลึกซึ้ง ยากที่จะเห็น ละเอียดยิ่ง อันจะยังสัตว์ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแส คือ นิพพาน
เป้าหมายสูงสุดของชีวิต
ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรงจำ เรากล่าวว่า เป็นบัณฑิต เพราะการยึดได้ซึ่งประโยชน์ในทิฏฐธรรม และประโยชน์ในสัมปรายภพ
สมณะแท้ คือผู้เข้าถึงพระรัตนตรัย
บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงกันได้ ๘ บุรุษ คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ที่ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ ควรแก่การรับทักษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี และเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง ในพระสงฆ์หมู่ นั้น
ธรรมกาย กายแห่งการตรัสรู้ธรรม
ธรรมกาย คือ กายแห่งการตรัสรู้ธรรม คำว่า “ธรรมกาย” มีปรากฏหลักฐานทั้งในพระไตรปิฎก และคัมภีร์สำคัญๆ ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทของเราหลายแห่ง พุทธรัตนะ คือ ธรรมกาย ธรรมรัตนะ คือ ธรรมทั้งหลายที่กลั่นจากหัวใจธรรมกาย สังฆรัตนะ คือ ดวงจิตของธรรมกาย
135 ปี พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ฉายา จนฺทสโร หมายถึง ผู้นำแสงสว่างมาสู่โลก ประดุจพระจันทร์ส่องสว่างยามราตรี เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีนามตามสัญญาบัตรประกอบพัดยศสมณศักดิ์ว่า พระมงคลเทพมุนี ศรีรัตนปฏิบัติ สมาธิวัตรสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
นิพพานคือเป้าหมายของชีวิต
ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยาก ชื่อว่านิพพาน ไม่มีตัณหา นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้ ไม่เห็นได้โดยง่ายเลย ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้ว กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้รู้ ผู้เห็นอยู่
ภูมิของพระอนาคามี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๓ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ มีความสิ้นไปแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ อย่าง เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับมาจากโลกนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยบุคคลนี้คือ สมณะที่ ๓ ในพุทธศาสนา