ชีวิตพระปัจเจกพุทธเจ้า (1)
บัณฑิตทราบอำนาจเนื้อความนี้ว่า บุตรทั้งหลาย ย่อมไม่มีเพื่อต้านทาน บิดา และพวกพ้องทั้งหลาย ก็ไม่มีเพื่ออันต้านทาน เมื่อบุคคล ถูกความตายครอบงำแล้ว ความต้านทานในญาติทั้งหลาย ย่อมไม่มี ดังนี้แล้ว เป็นผู้สำรวมในศีล พึงชำระทางเป็นที่ไปสู่พระนิพพาน ให้หมดจดโดยพลันทีเดียว
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - ผู้มีชัยชนะที่ไม่กลับแพ้
เมื่อพวกอำมาตย์กราบทูลให้เสด็จกลับ พระเจ้าพรหมทัตจึงตรัสว่า “ท่านทั้งหลาย เราไม่ใช่พระราชาแล้ว เราชื่อว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า” แล้วทรงเอาพระหัตถ์เบื้องขวาลูบพระเศียร ทันใดนั้นเอง เพศคฤหัสถ์ก็อันตรธานไป เพศบรรพชิตเกิดขึ้นมาแทนที่ ทรงเหาะขึ้นไปสู่ท้องฟ้า ประทับนั่งบนดอกปทุม
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - จุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต
ด้วยจิตที่จะอนุเคราะห์พระราชา พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงถวายพระพรว่า "ธรรมดานักโทษย่อมไม่ยินดีในเรือนจำ มีแต่ดิ้นรนแสวงหาหนทางออกจากเรือนจำนั้นอย่างเดียว ขอพระองค์จงเป็นเช่นนั้นเถิด จงเห็นภพทั้งหมดเหมือนเรือนจำเถิด โลกนี้ถูกความมืด คือ อวิชชา ห่อหุ้มไว้ ตราบใดที่สัตวโลกยังไม่ได้รับแสงสว่างจากพระสัทธรรม เปรียบเสมือนตกอยู่ในคุกมืด..."
มงคลที่ ๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา - สุราเป็นเหตุ
วันหนึ่ง ประชาชนเข้ามาขอร้องนายอำเภอว่า ข้าแต่นาย ในงานมหรสพประจำปี ซึ่งจะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ ทุกๆ ปีตั้งแต่โบราณกาล ชาวบ้านต่างพากันดื่มสุราเลี้ยงฉลองกันใหญ่โตเป็นที่สนุกสนาน เวลาอื่นท่านห้ามขายสุรา พวกเราก็ไม่ว่า แต่พรุ่งนี้เป็นงานประจำปี ซึ่งทำกันเป็นประเพณีมานาน เพราะฉะนั้น ขอท่านนายอำเภอ จงอนุญาตให้ซื้อขาย และดื่มสุรากันสักวันหนึ่งเถิด
มงคลที่ ๘ มีศิลปะ - ศิลปะำในการดำรงชีวิต
ชายหนุ่มผู้มีศรัทธา เขาตั้งใจอุปัฏฐากบำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้า ตลอดครบถ้วนไตรมาส บุญใหญ่ตลอด ๓ เดือนทำให้เขาได้มาบังเกิดเป็นบุตรเศรษฐี มีวรรณะผ่องใส มีฝ่ามือฝ่าเท้าแดงงามเหมือนสีดอกหงอนไก่ ต่อมาได้ออกบวชประพฤติธรรม ในที่สุดก็บรรลุอรหัตตผลอันเลิศ
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - จนข้ามภพ รวยข้ามชาติ ( ๕ )
สามเณรเดินต่อไป เห็นช่างศร กำลังเอาลูกศรลนไฟ เล็งดูด้วยหางตา แล้วดัดให้ตรง จึงเรียนถามพระเถระด้วยความอยากรู้ ตามประสาเด็กอายุ ๗ ขวบ ที่มีบารมีแก่กล้า เมื่อได้คำตอบแล้ว ก็ตรึกธรรมะไปว่า ถ้าสามารถดัดลูกศรที่ไม่มีจิต ให้ตรงได้ ทำไมหนอ คนซึ่งมีจิตแท้ๆ จึงไม่สามารถบังคับจิตของตนเองได้"
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - แรงบันดาลใจ ( ๒ )
พระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า นัคคชิ พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นหญิงคนหนึ่งที่สวมกำไลแก้วมณี แล้วทรงดำริว่า กำไล แขนนี้ เมื่ออยู่ข้างละอันไม่กระทบกัน ครั้นเมื่อย้ายมาอยู่รวมกันจึงกระทบกัน สัตว์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน หากแยกกันอยู่จะไม่ส่งเสียง ไม่ทำร้ายกัน เมื่อมี ๒ คน หรือ ๓ คนขึ้นไป จะกระทบกระทั่งกัน มีการทะเลาะวิวาททำร้ายกันเป็นต้น
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - สร้างผังรวยข้ามชาติ
วันหนึ่ง เธอได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเดินบิณฑบาตผ่านหน้าบ้าน บังเกิดความเลื่อมใส จึงรีบนำอาหารหวานคาวมาใส่บาตร ถวายดอกปทุมกำหนึ่ง พลางตั้งความปรารถนาว่า "ไม่ว่าจะเกิดไปกี่ภพกี่ชาติก็ตาม ขอให้เป็นที่รักของมหาชนเหมือนดอกปทุมนี้" ทั้งยังอธิษฐานเพิ่มเติมอีกว่า "การอยู่ในครรภ์มารดาเป็นสิ่งลำบาก ขอให้ได้เกิดในดอกปทุม ไม่ต้องไปอาศัยอยู่ในครรภ์มารดาอีก"