มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - การให้ที่มีผลมาก (๒)
"ดูก่อนคฤหบดี เวลามพราหมณ์ ก็คือเราตถาคตนี่แหละ เราแม้เมื่อให้ทานมากมายเห็นปานนั้น ก็ไม่ได้มีบุคคลผู้สมควรจะมารับทักษิณาทานของเรา แม้เพียงคนเดียว ถึงกระนั้นก็ส่งผลให้ได้เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์เป็นเวลายาวนาน ส่วนท่านได้ให้ทานแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นับว่าได้โอกาสอันเลิศแล้ว เพราะฉะนั้น จงยินดีในการให้ทานต่อไปเถิด"
มงคลที่ ๘ มีศิลปะ - แก้ปัญญาหาด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง (๓)
พระราชาจึงตรัสถามนายคามณิจันท์ว่า "แล้วความจริงมันเป็นอย่างไรล่ะ ท่านจงเล่ามาซิ" เขาได้เล่าเรื่องราว ทั้งหมดไปตามความเป็นจริง ตั้งแต่ที่ยืมโคไปแล้ว จนเอามาส่งคืน แต่ยังไม่ได้บอกเจ้าของเพราะเจ้าของโคกับภรรยากำลังทานข้าวอยู่ และเจ้าของก็เห็นแล้วว่า โคเข้าบ้านไปแล้ว แต่ตอนที่โคหายไปนั้น หายไปตอนกลางคืน ซึ่งไม่รู้ว่าใครขโมยไป ส่วนพระราชาจะตัดสินอย่างไรนั้น
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - พระปัญญาบริสุทธิ์
ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิต ผู้รู้ ผู้มีปัญญา ต้องดำรงตนเป็นทูตสันติภาพได้ด้วย นอกจากจะมีปฏิภาณที่ยอดเยี่ยมแล้ว ต้องไม่มีอคติความลำเอียง และต้องรู้จักแสวงจุดร่วมสมานจุดต่าง คอยประสานรอยร้าวเหมือนเป็นกาวใจ
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - ปัญญาพิชิตปัญหา
พระโพธิสัตว์ได้ใช้สติปัญญา แก้ข้อครหาของอำมาตย์ทั้ง ๕ คน เช่น เรียกให้อุจเฉทวาทีอำมาตย์เข้ามา พลางกล่าวว่า "ท่าน กล่าวว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล และยังสำคัญว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมขาดสูญในโลกนี้เท่านั้น สัตว์ผู้ไปสู่ปรโลกไม่มีเลย แล้วมาหัวเราะเยาะเราทำไม"
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - รู้เท่าไม่ถึงการณ์ (๔)
สำหรับเรื่องราวในตอนนี้เป็นเรื่องของเปรตเปลือยกาย ต่อจากตอนที่แล้ว เมื่อพระเจ้าอัมพสักขระทรงถวายผ้าเนื้อดี ๘ คู่ แด่พระอรหันต์ด้วยจิตที่เลื่อมใส ครั้นพระเถระรับผ้าของพระราชาแล้ว ก็อนุโมทนาว่า "ขอทักษิณาทานนี้ จงสำเร็จผลแก่เปรตนั้นตามพระราชประสงค์เถิด"
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - รู้เท่าไม่ถึงการณ์ (๓)
พระราชารู้สึกกลัวในกาเมสุมิจฉาจารที่พระองค์กำลัง จะล่วงละเมิด ทรงเริ่มเกิดความสังเวชสลดพระทัย และอยากจะช่วยเปรตให้เสวยสุข จึงตรัสถามว่า "ทำอย่างไรท่านจึงจะได้เครื่องนุ่งห่ม ขอจงบอกเราเถิด หากเราช่วยท่านได้ เราก็ยินดี และเพื่อเป็นการพิสูจน์ว่า ผลแห่งกรรมดีสามารถอุทิศให้ได้"
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - จนข้ามภพ รวยข้ามชาติ ( ๓ )
พระองค์ทรงรับอาราธนา แล้วประทานบาตรแก่มหาทุคตะ มหาทุคตะรับบาตรไปด้วยความดีใจ เสมือนหนึ่งได้มหาสมบัติจักรพรรดิ น้ำตาไหลอาบแก้ม ด้วยความปลาบปลื้มปีติยินดี แม้พระราชามหาอำมาตย์ จะอ้อนวอน ขอบาตร หรือต่อรองขอซื้อบาตร ด้วยราคาเป็นแสน เขาก็ไม่ยอมขาย เพราะมหาทุคตะเป็นผู้มีปัญญา เห็นว่าบุญเท่านั้นที่จะเป็นสมบัติติดตัวไปได้ ทั้งในภพนี้และภพเบื้องหน้า จึงไม่ยอมยกบุญนี้ให้แก่ใคร
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - จนข้ามภพ รวยข้ามชาติ ( ๒ )
ในตอนนี้เรามาศึกษาวิธีแก้ความยากจนข้ามชาติของมหาทุคตะกัน ต่อ ว่าเขามีวิธีการอย่างไร ถึงตอนที่ มหาทุคตะ ออกปากรับคำที่จะเลี้ยงพระภิกษุรูปหนึ่งในจำนวน ๒๐,๐๐๐ รูปแล้ว เขารีบกลับบ้านไปชักชวนศรีภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ให้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพเลี้ยงพระสัก ๑ รูป ภรรยาก็ไม่ขัดข้อง และกล่าวอนุโมทนาว่า พี่คิดถูกแล้ว เมื่อชาติก่อนเราไม่ได้ให้อะไรๆ ชาตินี้จึงต้องเกิดเป็นคนยากจน
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - มีบุญแล้วไม่ต้องกลัวต่อปรโลก
ความตายไม่ใช่เรื่องน่าหวาดกลัว เป็นเพียง การเดินทางไปสู่ปรโลก หรือย้ายที่อยู่ใหม่ เปลี่ยนภพภูมิใหม่เท่านั้นเอง พระพุทธองค์ทรงสอนวิธีเตรียมตัวก่อนตาย เพื่อเดินทางไปสู่ปรโลกไว้ว่า ทำอย่างไรจึงจะไปอย่างองอาจ ไปอย่างปลอดภัยและมีชัยชนะ
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - คบบัณฑิตพิชิตปัญหา
ในเวลาเย็น ทั้ง ๔ ท่าน ต่างออกจากที่พักของตน และได้พบกันโดยบังเอิญ ด้วยบุญเก่าที่เคยเกิดเป็นเพื่อนกันมาก่อน ทำให้รู้สึกรักใคร่ชอบใจกันเป็นพิเศษ จึงพูดคุยสนทนากันอย่างถูกคอ ทั้ง ๔ ท่านได้ตั้งคำถามขึ้นมาว่า การสมาทานอุโบสถศีลของพวกเรา ใครจะเป็นผู้มีศีลมากกว่ากัน ต่างฝ่ายต่างก็คิดว่า ตนมีศีลมากกว่าคนอื่น