จดหมายจากสามเณรนาคหลวง
ลูกเณรชื่อ สามเณร วิโรจน์ วงแสนชัย อายุ 21 ปี เปรียญธรรม 9 ประโยค เตรียมอุปสมบทเป็นพระภิกษุนาคหลวงรูปที่ 6 ของวัดพระธรรมกายครับ
เราสามารถฝึกการให้อภัยได้อย่างไร
การที่คนเราจะให้อภัยคนอื่นได้ มีความจำเป็นว่า จะต้องฝึกตัวฝึกใจให้มีคุณสมบัติที่ดีพอก่อน เช่น นึกถึงคุณความดีของเขาที่มีต่อเรา นึกถึงโทษของการผูกโกรธ นึกถึงคุณของการให้อภัย ฯลฯ
อานิสงส์ขอน้อยให้มาก
เมื่อสามีสั่งว่า เธอจงให้หนึ่งส่วนนะ นางก็มักจะถวายเกินเป็นสองส่วน ทำให้ได้บุญเป็นอันมาก บุญก็ส่งผลให้เข้าถึงโลกสวรรค์อยู่ยาวนาน
พระธรรมคุณ
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันบุคคลผู้ปฏิบัติสามารถเห็นเองได้ ให้ผลไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรเรียกให้มาดู เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาไว้ในใจ อันวิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - ผู้ดื่มรสแห่งธรรม
ภิกษุผู้ที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรมเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถตอบได้แม้แต่ข้อเดียว จึงนั่งก้มหน้านิ่งอยู่ ส่วนภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมจนเป็นพระอรหันต์ สามารถตอบปัญหาธรรมได้ทุกข้อ อย่างแจ่มแจ้งฉะฉานไม่มีติดขัด พระพุทธองค์จึงทรงสรรเสริญ ชื่นชม อนุโมทนาสาธุการพระเถระ
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - สอนตน สอนคนให้ถึงธรรม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมด้วยอาการ ๓ อย่างด้วยกัน คือ ประการแรก ทรงสอนให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น ประการที่สอง ทรงแสดงธรรมมีเหตุที่ผู้ฟังจะสามารถตรองตามให้เห็นจริงตามที่พระองค์ทรง แสดงได้ และประการสุดท้าย ทรงแสดงธรรมเป็นอัศจรรย์ คือ ผู้ปฏิบัติตามธรรมนั้นจะได้รับประโยชน์ตามสมควรแก่การปฏิบัติ
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - วจีกรรมนำสู่นิพพาน
เราเป็นผู้มีปกติกล่าวสรรเสริญพระชินวรเจ้าทุกเมื่อ เพราะ กรรมนั้น เราจึงเป็นผู้มีร่างกายและกลิ่นปากหอม เพียบพร้อมด้วยความสุขมีปัญญากล้า มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาไว มีปัญญามากและมีปฏิภาณอันวิจิตร
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - สั่งสมปัญญาบารมี
ความรู้ในพระไตรปิฎกนั้น ยิ่งศึกษายิ่งแตกฉาน ทำให้เราเข้าใจและรู้หนทางไปสู่อายตนนิพพานเพิ่มมากขึ้น เสมือนได้นั่งอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระบรมศาสดา กาย วาจา ใจ ของเราจะบริสุทธิ์เกลี้ยงเกลาตามพระองค์ไปด้วย ในตอนนี้จะได้อธิบายเกี่ยวกับหมวดพุทธวจนะ ในพระไตรปิฎก
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 1
วันนี้เรามาศึกษาประวัติการสร้างบารมีในพระชาติที่ สำคัญอีกชาติหนึ่ง ที่พระองค์ทรงมีปัญญาเฉียบแหลมและลึกซึ้ง แม้ครั้งพระองค์ยังเป็นเด็กน้อยอยู่แต่ก็มีปัญญาไม่ด้อยไปกว่ามหาบัณฑิตของ พระราชาทั้ง ๔ ท่าน ซึ่งถือว่ามีปัญญาสูงสุดของพระนคร