อานุภาพพระรัตนตรัย
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงรู้ธรรมอันประเสริฐ ประทานธรรมอันประเสริฐ เป็นผู้นำมาซึ่งพระธรรมอันประเสริฐ ไม่มีใครยิ่งกว่า ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ รัตนะแม้นี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสุขสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด
ธรรมะเพื่อประชาชนอนาถบิณฑิกเศรษฐี (มหาเศรษฐีเทพบุตร)
การถวายวิหารแก่สงฆ์เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพิจารณา และเพื่อให้เห็นแจ้ง พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ทรงสรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ เพราะเหตุนั้นแล คนผู้ฉลาด เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ให้ภิกษุทั้งหลายเถิด
ธรรมะเพื่อประชาชนกุศลกรรมบถ ศีล..มารดาแห่งความดี
ศีล เป็นเขตแดน เป็นเครื่องปิดกั้นความทุจริต ทำ จิตให้ร่าเริงแจ่มใสและเป็นท่าหยั่งลงมหาสมุทร คือ นิพพานของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะฉะนั้น บุคคลพึงรักษาศีลให้บริสุทธิ์ (สีลวเถรคาถา)
Review รายการอนาถบิณฑิกเศรษฐี (ยอดกัลยาณมิตร)
ผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะแล้ว เห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ คือ ทุกข์ และตัณหาอันเป็นแดนเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และมรรคมีองค์ ๘ อันไปจากข้าศึก ให้ถึงพระนิพพานเป็นที่เข้าไประงับทุกข์ นี้แลเป็นสรณะอันเกษม นี้เป็นสรณะอันอุดม บุคคลอาศัยสิ่งนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
ธรรมะเพื่อประชาชนอนาถบิณฑิกเศรษฐี (บรรลุธรรม)
ผู้ใดยึดเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ผู้นั้นเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ สรณะของผู้นั้นเป็นสรณะอันเกษม เป็นสรณะอันสูงสุด บุคคลอาศัยสรณะนี้แล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
ธรรมะเพื่อประชาชนพระบรมธาตุ
พระบรมธาตุ บทบาทและความสำคัญของพระบรมธาตุ ตำนานพระบรมธาตุ เรื่องพระบรมธาตุ เมื่อสิ้นศาสนา พระธาตุของพระพุทธเจ้าทั้งหมดจะเสด็จไปรวมกันที่พระมหาเจดีย์เมืองอนุราธปุระในลังกา แล้วจึงเสด็จไปรวมกันขึ้นเป็นองค์ที่โพธิบัลลังก์ในอินเดีย แสดงธรรมแก่เทวดาทั้งหลายเป็นครั้งสุดท้าย อันตรธาน
พระพุทธศาสนาประเภทของพระบรมธาตุ
ประเภทของพระบรมธาตุ มีวิธีแบ่งตามความสมบูรณ์ของสภาพหลังพิธีเผาสรีระธาตุ 1.นวิปปกิณณาธาตุ คือพระบรมธาตุที่ยังอยู่เป็นชิ้นสมบูรณ์ มี 7 องค์ 2.วิปปกิณณาธาตุ คือพระบรมาตุส่วนที่แยกกระจัดกระจายเพื่อยังประโยชน์แก่มหาชนและสรรพสัตว์สรรพวิญญาณทั้งหลายตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงอธิษฐานไว้ก่อนเสด็จปรินิพพาน ดังที่ปรากฏอยู่ใน “ตำนานมูลศาสนา” และ “ชินกาลมาลีปกรณ์”
พระพุทธศาสนาคําบูชาพระรัตนตรัย
คําบูชาพระรัตนตรัย พร้อมคําแปล คําบูชาพระรัตนตรัยโดยพิสดาร คำนมัสการพระรัตนตรัย บทสวดนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ
บทสวดมนต์ขอจงเป็นอยู่เถิด
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อมีผู้ถวายบังคม จะทรงพระอิริยาบถที่สง่างาม ทรงเปล่งพระสุรเสียง ดุจท้าวมหาพรหมที่ไพเราะเสนาะโสต เป็นที่จับใจ เปี่ยมด้วยโสรจชะโลมด้วยน้ำอมฤต ตรัสระบุชื่อของผู้นั้นแล้วกล่าวว่า จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด ข้อนี้เป็นธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ธรรมะเพื่อประชาชนคาถากันยักษ์ ตอนที่ ๑
พระพุทธเจ้าเหล่าใด ผู้ดับแล้วในโลก ทรงเห็นแจ้งแล้วตามความเป็นจริง พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ส่อเสียด เป็นผู้ยิ่งใหญ่ปราศจากความครั่นคร้าม เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย นอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้โคตมโคตร ทรงเกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ยิ่งใหญ่ปราศจากความครั่นคร้าม
ธรรมะเพื่อประชาชน