มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - วจีกรรมนำสู่นิพพาน
เราเป็นผู้มีปกติกล่าวสรรเสริญพระชินวรเจ้าทุกเมื่อ เพราะ กรรมนั้น เราจึงเป็นผู้มีร่างกายและกลิ่นปากหอม เพียบพร้อมด้วยความสุขมีปัญญากล้า มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาไว มีปัญญามากและมีปฏิภาณอันวิจิตร
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - บุญยังความปรารถนาให้สําเร็จ
พระเถระท่านนี้มีนามว่า พระมหากัจจายนะ เป็นพระอรหันตเถระ ผู้มีผิวพรรณงดงามประดุจทองคำ ท่านมีประวัติ การสร้างบารมีที่น่าสนใจมาก เช่น กระทำการบูชาพระผู้มีพระภาคด้วยการถวายแผ่นอิฐทองคำมีค่าแสนหนึ่ง ทำเป็นฐานของพระสุวรรณเจดีย์ และตั้งความปรารถนาว่า "ด้วยอานุภาพแห่งบุญที่บังเกิดขึ้น จากการถวายแผ่นอิฐทองคำนี้ ทุกภพทุกชาติที่ได้เกิด ขอให้สรีระของข้าพเจ้าจงมีวรรณะเหมือนทองคำ"
ชีวิตพระปัจเจกพุทธเจ้า (2)
นักปราชญ์เหล่าใดมีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา มีปกติเห็นธรรมพิเศษ รู้แจ้งธรรมอันประกอบด้วยมรรค และโพชฌงค์ เจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ และอัปปณิหิตวิโมกข์ ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนาของพระชินเจ้า นักปราชญ์เหล่านั้น ย่อมเป็นพระสยัมภูปัจเจกชินเจ้า มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วงทุกข์ทั้งปวงได้ มีใจเบิกบาน มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง อุปมาดังราชสีห์ อุปมาดังนอแรดฉะนั้น
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - ธรรมกายต้นแหล่งแห่งความบริสุทธิ์
นักปราชญ์เหล่าใด เจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ และอัปปณิหิตวิโมกข์ ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนาของพระชินเจ้า นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นพระสยัมภูปัจเจกพุทธเจ้า ผู้มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมากมาย มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วงทุกข์ทั้งมวลได้ มีจิตโสมนัส มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ธรรมกาย กายแห่งการตรัสรู้ธรรม
ธรรมกาย คือ กายแห่งการตรัสรู้ธรรม คำว่า “ธรรมกาย” มีปรากฏหลักฐานทั้งในพระไตรปิฎก และคัมภีร์สำคัญๆ ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทของเราหลายแห่ง พุทธรัตนะ คือ ธรรมกาย ธรรมรัตนะ คือ ธรรมทั้งหลายที่กลั่นจากหัวใจธรรมกาย สังฆรัตนะ คือ ดวงจิตของธรรมกาย
95 ปี วิชชาธรรมกาย
คำว่า “ธรรมกาย” มีการพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เมื่อพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ได้ปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาจนได้บรรลุธรรมกาย เมื่อวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ปี พ.ศ. 2460 ณ วัดโบสถ์บน ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
94 ปี วิชชาธรรมกาย ข่าวจากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ
“ธรรมกาย” คือ กายตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, “วิชชา” แปลว่า ความรู้แจ้ง, “วิชชาธรรมกาย” แปลว่า ความรู้แจ้งเรื่องธรรมกาย
อานิสงส์ถวายดอกอ้อ
ฉับพลันทันใดกินนรีก็คิดว่า ไทยธรรมที่ควรถวายในมือของเราก็ไม่มี หากเราจะไม่สั่งสมบุญอะไรเลย ก็จะทำให้เราคลาดจากบุญนี้ไป เราจะทำอย่างไรดีหนอ เมื่อคิดอย่างนี้กินนรีผู้มีบุญก็มองไปรอบๆ อาณาบริเวณ ขณะที่ในใจของนางนั้นเต็มเปี่ยมด้วยความปีติอันไม่มีประมาณ ก็มองไปเห็นดอกไม้ชนิดหนึ่ง ออกดอกงามสะพรั่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำก็ดำริว่า แม้ในมือของเราไม่มีไทยธรรม เราก็จะเอาดอกอ้อนี่แหละบูชาสมณะรูปนี้