กาฬยมุฏฐิชาดก ชาดกว่าด้วยโลภมาก
ในสมัยพุทธกาลเมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระเจ้ากรุงโกศลแล้ว จึงตรัสพระธรรมเทศนาดังนี้ ครั้งนั้นในช่วงฤดูฝนได้เกิดการการกบฏขึ้นทางชายแดนของแคว้นโกศล
วรุณชาดก ชาดกว่าด้วยการทำไม่ถูกขั้นตอน
ย้อนไปในสมัยพุทธกาล ณ พระเชตวันมหาวิหารอันเป็นที่ประทับของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังมีกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีซึ่งเป็นสหายกันประมาณ 30 คน ถือของหอม ดอกไม้และผ้า คิดกันว่าจะเข้าเฝ้าฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา จึงได้พากันไปยังวิหารเชตวันและได้นั่งพักในโรงนา คมาฬกะ วิสาลมาฬกะ เพื่อรอเข้าเฝ้าพระพุทธองค์
ประโยชน์ของการสร้างวัดใหญ่
ในสมัยพุทธกาลยังไม่มีพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าทรงสอนธรรมะทีละเรื่องและทยอยบัญญัติพระวินัยทีละสิกขาบทเมื่อมีเหตุเกิดขึ้น ในยุคนั้นไม่มีวิทยุ ไม่มีโทรทัศน์ ไม่มีอินเตอร์เน็ต ไม่มีการพิมพ์หนังสือ แล้วคณะสงฆ์ซึ่งกระจายตัวอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ อย่างกว้างขวางทั่วอินเดีย จะรู้ได้อย่างไรว่าขณะนี้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยขึ้นใหม่อีกกี่สิกขาบทแล้ว และถ้าไม่รู้ ถือพระวินัยไม่เท่ากันสวดปาฏิโมกข์ก็มีสิกขาบทไม่เท่ากัน คณะสงฆ์ก็ย่อมขาดเอกภาพ
กองทุน "มหาธรรมทาน ถวายสื่อธรรมะ 30,000 วัด 10,000 โรงเรียน"
ขอเรียนเชิญสาธุชนทุกท่านร่วม พิธีถวายกองทุน “มหาธรรมทาน 30,000 วัด 10,000 โรงเรียน” เพื่อจัดส่งสื่อธรรมะ ถวายแด่พระสังฆาธิการ 30,000 วัด และโรงเรียนฟื้นฟูศีลธรรมโลก 10,000 กว่าแห่งทั่วประเทศ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของพระศาสนา ให้โลกสว่างไสวด้วยแสงแห่งธรรม นำความสงบสุข ร่มเย็น หวนคืน ดุจดั่งสมัยพุทธกาล ในวันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม 2558 ณ หอฉันฯ คุณยายอาจารย์ฯ วัดพระธรรมกาย
เวียนเทียนวันวิสาขบูชา
เวียนเทียนวันวิสาขบูชา สมัยพุทธกาลมีการเวียนเทียนหรือไม่? ทำไมต้องมีการเวียนเทียน? ปัจจุบันประเทศอินเดียยังมีการเวียนเทียนถวายเป็นพุทธบูชาไหม? พิธีกรรมวันวิสาขบูชาของอินเดียกับไทยเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?.....
ติสสสามเณร สามเณรผู้รู้วันละสังขาร
ในสมัยพุทธกาลมีสามเณร น้อยองค์หนึ่งชื่อติสสะ อายุ ๗ ปีมาบวชเพื่อศึกษาเล่าเรียน และปฏิบัติธรรมอยู่ในสำนักพระสารีบุตรเถระอัครสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นระยะเวลาหนึ่งปี
สามเณรปิโลติกะ อดีตเด็กขอทาน
ในสมัยพุทธกาลมีเด็กขอทานคนหนึ่งชื่อว่า ปิโลติกะ นุ่งผ้าเก่าๆขาดวิ่น ถือชามกระเบื้องเดินขอทานอยู่ไปมา พระอานนท์เห็นเข้าจึงเกิดความเมตตาชวนให้เด็กขอทานได้บวชในพระพุทธศาสนา สามเณรจึงได้บวชกับพระอานนท์นับแต่บัดนั้น
คุณเคยได้รับพรจากเทวดาไหม
ครั้งหนี่ง ในสมัยพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อมีเทพจะต้องจุติ (ตาย) เหล่าทวยเทพทั้งหลาย จะพากันมาอวยพรให้ 3 ประการ คือ...
ธุดงค์ธรรมชัยกับการปฏิบัติธุดงควัตร
ธุดงควัตร เป็นพุทธประเพณีที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เนื่องจาก ธุดงค์ คือ บทฝึกตนในการ กำจัดกิเลสทางพระพุทธศาสนาแบบเฉียบพลัน ที่เรียกว่า ธุตังคะ มีทั้งหมด 13 ข้อ โดยผู้ปฏิบัติจะได้ฝึกความ อดทน และใช้ความเพียรสูง กว่าปกติ ซึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติให้การถือธุดงค์เป็นข้อบังคับ คือ ใครจะถือก็ได้ หรือไม่ถือก็ได้ แต่พระองค์ทรงอนุญาตให้ทำได้ เพราะเป็นข้อปฏิบัติที่เกื้อกูลและสนับสนุนให้ บรรลุธรรมง่ายขึ้น
พุทธประเพณี ประเพณีของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
พุทธประเพณี คือ ประเพณีของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นระเบียบแบบแผนและเอกลักษณ์ของชาวพุทธ ที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล พุทธประเพณีที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาลนั้นมีหลายอย่าง เช่น พุทธประเพณีการบวช พุทธประเพณีการตักบาตร พุทธประเพณีการถวายสังฆทาน พุทธประเพณีการปฏิบัติธุดงควัตร เป็นต้น