ชัยชนะครั้งที่ 5 (ตอน ชนะการถูกกล่าวหาจากนางจิญจมาณวิกา)
พระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมมุนี ได้ทรงชนะคำกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกา ผู้ทำอาการเหมือนหญิงมีครรภ์ ได้ทำไม้สัณฐานกลมผูกติดไว้ ด้วยวิธีที่งดงาม คือความสงบพระทัยในท่ามกลางมหาชน ด้วยเดชแห่งพุทธชัยมงคลนั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน
ศาสดาเอกของโลก (2)
ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชนเหล่านั้นชื่อว่า เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ก็วิบากอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้ที่เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ...
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - ความสุขในพระรัตนตรัย
หลังจากที่ท่านปลงผมเสร็จ กำลังจะผลัดผ้าสาฎกออก เพื่อเปลี่ยนมานุ่งห่มชุดของนักบวช ในจังหวะนั้นท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในทันที เมื่อบรรลุธรรมแล้ว ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องปฏิสัมภิทาญาณ ต่อมาพระบรมศาสดาทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้มีความแตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณสี่
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - สำคัญที่ดวงจิต
เมื่อแน่ใจแล้วว่าอุบาสิกานี้รู้วาระจิตของตนจริงๆ ท่านจึงกลับมาคิดใคร่ครวญว่า "กรรมนี้หนักหนอ ธรรมดาปุถุชน ย่อมคิดถึงอารมณ์อันงามบ้างไม่งามบ้าง ถ้าเราจักคิดสิ่งอันไม่สมควรแล้ว อุบาสิกานี้จะรู้ทันเราเหมือนจับโจรได้พร้อมด้วยของกลาง อย่ากระนั้นเลย เราควรหนีไปเสียจากที่นี้จะดีกว่า" แล้วจึงลาอุบาสิกาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงแม้ว่าอุบาสิกาจะทัดทานให้อยู่ต่อก็ตาม เมื่อไปถึงพระพุทธองค์ได้ตรัสถามเธอว่า "ภิกษุ เธออยู่ในที่นั้นไม่ได้หรือ"
มงคลที่ 37 - จิตปราศจากธุลี - จิตสะอาดปราศจากธุลี
วันนั้นเป็นคืนเดือนหงาย พระสารีบุตรท่านเพิ่งปลงผมใหม่ๆ ก็นั่งทำสมาธิอยู่กลางแจ้ง เผอิญมียักษ์สองตนเหาะผ่านมา ยักษ์ตนหนึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิ ส่วนอีกตนหนึ่งเป็นสัมมาทิฏฐิ พอเห็นพระสารีบุตรนั่งอยู่อย่างนั้น ยักษ์มิจฉาทิฏฐิซึ่งในอดีตเคยผูกอาฆาตพระสารีบุตรไว้ จึงบอกกับเพื่อนยักษ์ว่า "นี่เพื่อน เราจะทุบศีรษะของสมณะองค์นี้นะ"
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - พิชิตความโศกด้วยสัจจธรรม
มหาชนที่ผ่านไปผ่านมา พบเห็นดาบสินีนอนสิ้นใจ ต่างก็พากันสงสารในชะตากรรม พากันร้องไห้คร่ำครวญอยู่ที่ศาลาหลังนั้น ส่วนพระโพธิสัตว์กลับจากภิกขาจาร มาเห็นมหาชนคร่ำครวญกันอยู่ เมื่อรู้ว่าดาบสินีคู่ทุกข์คู่ยากสิ้นใจแล้ว ก็ไม่ได้แสดงอาการอะไร ยังคงทำภัตกิจตามปกติ เพราะเป็นผู้ที่มีใจมั่นคง มองเห็นความตายเป็นเรื่องธรรมดาของสัตวโลก มหาชนเห็นอย่างนั้น จึงพากันถามด้วยความสงสัยว่า "ท่านดาบสเป็นอะไรกับนาง"
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - ผู้อยู่จบพรหมจรรย์
ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา เมตตคูก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ทั้งวิชชา๓ วิชชา๘ อภิญญา๖ วิโมกข์๘ จรณะ๑๕ ท่านได้บรรลุหมด รู้แจ้งเห็นแจ้งแทงตลอดในคำสอนของพระบรมศาสดา และได้บวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยพระพุทธองค์ได้เมตตาประทานการบวชให้
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - บัณฑิตต้องอบรมตน
สมัยหนึ่ง พระราชาตรัสถามว่า "ท่านรัฐบาลผู้เจริญ คนส่วนใหญ่ออกบวชเพราะว่าแก่ชรา อยากมีที่พึ่งทางใจ เพราะความเจ็บไข้ได้ป่วยบ้าง เพราะเสื่อมจากโภคสมบัติบ้าง จึงอยากมาอาศัยพระศาสนา และเสื่อมจากญาติบ้าง เมื่อเห็นว่าจะไม่มีที่พึ่ง จึงพากันออกบวช แต่ท่านไม่ได้มีความเสื่อมเหล่านั้นเลย แล้วทำไมถึงออกบวชเป็นบรรพชิตเล่า"
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - ครั้งหนึ่งในชีิวิตของลูกผู้ชาย
"ดูก่อนโสณะ พรหมจรรย์มีภัตรหนเดียว ต้องนอนผู้เดียวตลอดชีวิต เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ท่านเป็นคฤหัสถ์อยู่ในเรือน จงหมั่นประกอบพรหมจรรย์อันมีภัตรหนเดียว นอนผู้เดียว ซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเถิด" แม้พระอาจารย์จะทักเช่นนี้ แต่ด้วยมโนปณิธานอันแน่วแน่ที่จะบวชให้ได้ ท่านเพียรเข้าไปขออนุญาตพระเถระถึง ๓ครั้ง
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล - ไขปริศนาธรรม
พระพุทธองค์ผู้รู้แจ้งโลก ตรัสตอบว่า “บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพาน ฟังอยู่ด้วยดีย่อมได้ปัญญา บุคคลเป็นผู้ไม่ประมาท เป็นผู้ฉลาด เป็นผู้ทำอะไรเหมาะสม ไม่ทอดธุระ ขยันหมั่นเพียร ย่อมหาทรัพย์ได้ คนย่อมได้ชื่อเสียงเพราะความสัตย์ ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้ บุคคลใดประกอบด้วยศรัทธา มีธรรม ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ บุคคลนั้น ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก”