สาธุศีลชาดก ชาดกว่าด้วยตำราเลือกลูกเขย
เมื่อครั้งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเกิดเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในเมืองตักศิลา ได้มีพราหมณ์เฒ่าผู้หนึ่ง มีลูกสาวที่งามพร้อมทั้งกาย วาจาและใจจนเป็นที่หมายปองของหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่สี่คนด้วยกัน
นังคลีสชาดก ชาดกว่าด้วยคนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว
“ มานพนี้ เมื่อกล่าวว่างูเหมือนงอนไถ่ ก็กล่าวถูกต้องก่อนแล้ว แม้กล่าวว่าช้างเองก็เหมือนงอนไถ ก็คงพอจะกล่าวได้ด้วยเล่ห์ที่หมายเอางวงช้าง แม้กล่าวว่าอ้อยเหมือนงอนไถ่ก็ยังพอเข้าท่า แต่นมส้มนมสด ขาวอยู่เป็นนิจ ทรงตัวอยู่ได้ด้วยภาชนะ ไม่น่าจะกล่าวอุปมาในข้อนี้ได้โดยประการทั้งปวงเลย เราไม่อาจให้คนเลื่อนเปื้อนผู้นี้ศึกษาได้อีกเสียแล้ว ”
การันทิยชาดก ชาดกว่าด้วยการทำที่เหลือวิสัย
“ พระคุณท่านคนเหล่านั้นเขาไม่ได้รักษาศีล ดังที่รับศีลไว้เลยนะขอรับ ” “ แต่นี้ต่อไปขอพระธรรมเสนาบดี จงหยุดให้ศีลแก่ผู้ไม่พอใจรับอีกเลย พวกพรานใจบาป นักเลงหัวขโมยพวกนั้น ไม่อาจขัดขืนถ้อยคำพระเถระเจ้า จึงรับศีลไป แต่จิตใจมิได้ยอมรับตามเลยแม้แต่น้อย ” ศิษย์ทั้งหลายของพระสารีบุตรกล่าวขอดังนี้อยู่หลายครั้ง แต่มิได้ทำให้การศีลหยุดลงแต่ประการใด “ ไม่เป็นไรหรอกรับศีลไปทุกวัน สักวันหนึ่งเขาก็คงประพฤติปฏิบัติศีลได้เอง
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 49
ธรรมดาว่าคู่หนุ่มสาวเมื่อร่วมเดินทางย่อมสนทนา ปราศรัย ชี้ชวนกันชมนกชมไม้เพื่อบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า หนทางที่ว่าไกลก็จะเป็นเหมือนใกล้เพราะมีคนรู้ใจเป็นสหายร่วมทาง แต่สำหรับปิงคุตตระแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ เขากลับพยายามเร่งก้าวเดินเพื่อจะให้ถึงมิถิลานครโดยเร็ว จนทิ้งห่างนางไป
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - อย่าลบหลู่คุณท่าน
เขาคิดว่า ถ้าเราบอกว่าเรียนมาจากคนจัณฑาล ก็จะได้รับความอับอาย และเสื่อมเสียเกียรติยศชื่อเสียง คนอื่นจะไม่นับหน้าถือตา และยังจะถูกมหาชนดูถูกดูหมิ่นเอาอีกด้วย จึงกราบทูลว่าเรียนมาจากสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ พร้อมๆกับที่เขากล่าวมุสา มนต์ก็เสื่อมในทันทีโดยที่เขาไม่รู้ตัว
ทุราชานชาดก ชาดกว่าด้วยภาวะของหญิงรู้ได้ยาก
มหานครสาวัตถี นครหลวงของแคว้นในสมัยที่พระพุทธศาสนากำลังเจริญรุ่งเรืองบนแผ่นดินชมพูทวีปนั้น มหาชนผู้เลื่อมใสในคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่างหลั่งไหลกันมาทั้งไกลใกล้มิได้เว้นว่างยังนำเครื่องไทยธรรมอันประณีตถวายพระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์
อนภิรติชาดก ชาดกว่าด้วยจิตขุ่นมัว ไม่ขุ่นมัว
ความสำเร็จในมรรคผล การบรรลุญาณสมาบัติของผู้ปฏิบัติกรรมฐานนั้น เกี่ยวข้องด้วยความสมถะสันโดษหลุดพ้นจากกิเลสอันอยากได้อยากมีเป็นอย่างยิ่ง ผู้ปฏิบัติภาวนา แม้สำเร็จญาณระดับใดแล้วก็ตาม แต่หากรับเอาอาสวะกิเลสเข้าจิตใจ แม้น้อยนิด ญาณวิเศษที่พากเพียรมา ก็จักเสื่อมลงถดถอยลงสิ้น
อกาลราวิชาดก ชาดกว่าด้วยไก่ขันไม่ถูกเวลา
ในสมัยพุทธกาลเมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้ท่องบ่นไม่เป็นเวลารูปหนึ่ง คราวนั้นมีภิกษุบวชใหม่เป็นกุลบุตรชาวพระนครสาวัตถี บรรพชาในพระศาสนาแล้ว มีความมุ่งมั่นที่จะ...
วรุณชาดก ชาดกว่าด้วยการทำไม่ถูกขั้นตอน
ย้อนไปในสมัยพุทธกาล ณ พระเชตวันมหาวิหารอันเป็นที่ประทับของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังมีกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีซึ่งเป็นสหายกันประมาณ 30 คน ถือของหอม ดอกไม้และผ้า คิดกันว่าจะเข้าเฝ้าฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา จึงได้พากันไปยังวิหารเชตวันและได้นั่งพักในโรงนา คมาฬกะ วิสาลมาฬกะ เพื่อรอเข้าเฝ้าพระพุทธองค์
มตกภัตตชาดก ชาดกว่าด้วยสัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์
“เหล่าพราหมณ์เอ๋ย ถ้าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้อย่างนี้ว่า ความเกิดมี ของชาติภพนั้น เป็นทุกข์เช่นนี้ สัตว์จึงไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้มีปกติข้าสัตว์ ย่อมได้รับความเศร้าโศก ด้วยต้องเสวยมหันตทุกข์ตลอดกาลนาน เหล่าพราหมณ์เอ๋ย ผู้ทำสัตว์อื่นให้เจริญ ย่อมได้ความเจริญในชาติสมภพ เมื่อเบียดเบียนสัตว์อื่นย่อมได้รับการเบียดเบียนเช่นกัน ดังนี้จึงไม่ควรฆ่าสัตว์อื่น อีกอย่างหนึ่ง ทุกท่านล้วนได้เห็นแล้วว่า แพะนี้เศร้าโศกแล้วเพราะมรณะภัยฉันใด ผู้มีปกติฆ่าสัตว์ ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนานฉันนั้น ดังนี้แล้วไม่ว่าผู้ใดก็ตาม จึงไม่ควรกระทำกรรมคือ ปานาติบาต ไม่ควรฆ่าสัตว์ด้วยเหตุผลดังนี้”