แก้วตาดวงใจ
เธอเป็นชาวลาวในออสเตรเลีย...ตลอดมาเธอมีความรู้สึกว่า บางสิ่งได้ขาดหายไป จนเมื่อเธอได้มาปฏิบัติธรรม เธอจึงได้สิ่งที่หายไปนั้นกลับคืนมา...เมื่อเธอเกษียณอายุราชการแล้ว เธอได้มีอาชีพใหม่ คือ เป็นผู้นำบุญ...เรื่องน่าแปลก มีเหตุการณ์ที่ทำให้เธอและคนในครอบครัว พากันคิดว่า คุณแม่ของเธอที่เสียชีวิตไป ได้กลับมาเกิดเป็นลูกชายของน้องสาวคนที่เจ็ดของเธอ...เรื่องนี้จริงหรือไม่...ที่นี่...มีคำตอบ
กรณีศึกษากฎแห่งกรรมไม่มีอะไรจะโศกา, ไม่ได้มาง้อ...แต่มาขอล่ำลา
นับตั้งแต่เด็กจนโต เขามีปัญหาคาใจที่ชวนสงสัย ในเรื่องของกฎแห่งกรรม กล่าวคือ ตัวเขาเองมักจะประสบกับอุบุติเหตุอยู่เสมอๆ ทั้งที่เป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ จนถึงเรื่องใหญ่ๆจนทำให้เกือบจะเอาชีวิตไม่รอด...เคยโดนวัวเตะจนสลบ เคยถูกไฟฟ้าดูดจนหยุดหายใจไป 7นาที บ้านเคยถูกไฟไหม้ ทรัพย์สินที่มีอยู่หายไปในชั่วพริบตา...อะไร คือสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุต่างๆดังกล่าวกับเขา เป็นเหตุสุดวิสัย หรืออะไรกันแน่...ที่นี่...มีคำตอบ
กรณีศึกษากฎแห่งกรรมคันได้แต่ห้ามปวด
เรื่องราวตัวอย่างของการชิงช่วงช่วงชิงในตอนที่ใกล้จะละโลก...ชายคนหนึ่ง ในช่วงที่คุณแม่ของเขาป่วยหนักอยู่ที่โรงพยาบาล เขาได้ทำหน้าที่ของยอดกัลยาณมิตร ช่วยให้คุณแม่ของเขานึกถึงบุญ อยู่ในบุญ และยังสวดมนต์ให้ท่านฟังด้วย ผลแห่งการกระทำดังกล่าว ช่วยคุณแม่ของเขาได้หรือไม่ อย่างไร...และกับคำถาม การที่เราไม่มีเจตนาจะฆ่าสัตว์แต่ต้องทำเพราะผู้ใหญ่ให้ทำ จะมีผลมากน้อยอย่างไร และจะแก้ไขอย่างไร
กรณีศึกษากฎแห่งกรรมโอนิ
ครอบครัวหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น...ลูกสาวเกิดป่วย ต้องเข้ารับการรักษาอยู่ในชั้นของผู้ป่วยเด็กที่มีอาการทางจิตหรือมีสภาพร่างกายไม่สมประกอบ มีอาการไม่ตอบสนองใดๆทั้งสิ้น…คุณแม่ของเธอ นึกขึ้นได้ถึง Case Study เรื่องหนึ่ง ซึ่งเคยได้รับฟังจากโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา จึงได้ใช้วิธีแก้ไขตามอย่างใน Case นั้น ปรากฏว่า ลูกสาวมีอาการดีขึ้นเรื่อยๆ และหายเป็นปกติได้อย่างอัศจรรย์
กรณีศึกษากฎแห่งกรรมของดีๆแบบไทย, ใครๆ ก็ไม่แน่ใจผม
ชายคนหนึ่ง...เนื่องจากค่านิยมของชาวจีนในสมัยนั้น ทำให้เขาต้องถูกส่งตัวไปเมืองจีน เพื่อไปอยู่กับปู่และย่า ตั้งแต่เล็ก ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้เข้าร่วมขบวนการต่อต้านญี่ปุ่น ย่าของเขากลัวว่าเขาจะมีภัย จึงส่งตัวเขากลับเมืองไทย แต่ทว่า แม่ของเขากลับไม่เชื่อว่าเขาเป็นลูก เพราะเชื่อข่าวลือว่า ลูกชายได้ตายไปแล้วในสงคราม...เขาล้มป่วยตอนอายุมากแล้ว และได้จบชีวิตด้วยการยิงตัวตาย
กรณีศึกษากฎแห่งกรรมเหงาตัวเท่าไหน, เหงาตัวเท่าคาราบาว
บ้านอาถรรพ์...ครอบครัวหนึ่งได้ย้ายเข้าไปอยู่ในบ้าน ซึ่งเจ้าของเดิมผูกคอตาย ต่อมาภรรยาของเจ้าของคนใหม่ ก็ได้ผูกคอตายในห้องเดียวกันและในที่ใกล้เคียงกัน...อะไรคือสาเหตุที่แท้จริงของการฆ่าตัวตายครั้งนี้ บ้านนี้มีอาถรรพ์หรือไม่...และตัวอย่างของอานิสงส์จากการสร้างองค์พระธรรมกาย ประจำตัว...หญิงคนหนึ่ง มีโอกาสได้สร้างองค์พระก่อนตาย เมื่อเธอตายแล้ว บุญนี้ส่งผลต่อเธออย่างไร
กรณีศึกษากฎแห่งกรรมเกือบไป
ชายคนหนึ่ง ไม่ค่อยมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ไม่เชื่อเรื่องบุญ-บาป มีภรรยาสองคน เมื่อภรรยาคนแรกทราบเรื่อง จึงขอหย่า แต่เขามีลูกสาวที่กตัญญู เธอพยายามทุกทางที่จะทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรให้พ่อ ชักชวนพ่อให้ทำบุญ แต่ก็ทำได้อยู่ระยะหนึ่งเท่านั้น หลังจากที่พ่อของเธอเสียชีวิต เพราะมะเร็ง เธอก็ยังทำบุญเพื่ออุทิศให้พ่ออย่างเต็มที่...บุญช่วยเขาหลังตายแล้ว อย่างไร...ที่นี่...มีคำตอบ
กรณีศึกษากฎแห่งกรรมไม่เอาน่า...อย่าคิด
เรื่องราวของนักสร้างบารมี...เธอรู้จักหมู่คณะตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม...ด้วยเชื่อในคำสอนของมหาปูชนียาจารย์ ทำให้เธอตัดสินใจไม่ใช้ชีวิตครองเรือน ถือศีลแปด และเข้ามาเป็นอุบาสิกา ทำงานรับใช้พระพุทธศาสนา...อุทาหรณ์ของผลแห่งบุญและบาป...คุณพ่อของเธอเป็นคนเจ้าชู้มีภรรยาหลายคน คุณยายของเธอเป็นคนใจบุญ ตักบาตรสม่ำเสมอ และจะไปถืออุโบสถศีลที่วัดเป็นประจำ...ชีวิตหลังความตายของท่านทั้งสองจะเป็นอย่างไร
กรณีศึกษากฎแห่งกรรมเพชฌฆาตฟันคอ
เธอเกิดในตระกูลสูงศักดิ์ ท่านพ่อของเธอเป็นหม่อมเจ้า ราชนิกุล ท่านมีความซื่อสัตย์สุจริต ทำงานโดยไม่เห็นแก่อามิสใด รับราชการอยู่ในกรมราชทัณฑ์ ทำหน้าที่ควบคุมบริหารงานเรือนจำ และดูแลการประหารชีวิตนักโทษ...การประหารนักโทษด้วยการตัดคอ มีขั้นตอนและวิธีการอย่างไร...การที่เพชฌฆาต ได้ขอขมาต่อนักโทษประหาร และนักโทษนั้นได้อโหสิกรรมให้แล้ว เพชฌฆาตจะมีวิบากกรรมหรือไม่
กรณีศึกษากฎแห่งกรรมเวียงลอ รอคอย
เขาเป็นนักการเมือง...ได้มีโอกาสปกป้องผืนแผ่นดิน ซึ่งเป็นสมบัติของพระพุทธศาสนา และเป็นผู้ฟื้นฟู บูรณะ และรักษาเมืองโบราณ ณ ผืนแผ่นดินดังกล่าว ด้วยความปรารถนา อยากจะเห็นแผ่นดินไทย เป็นแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง...มาร่วมกันศึกษาเรื่องราวของเขา ในแบบของโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา
กรณีศึกษากฎแห่งกรรม