กรรมเก่าเฝ้าติดตาม
บุคคลทำกรรมใดแล้ว ไม่ร้อนใจในภายหลัง มีปีติและโสมนัส เสวยวิบากของกรรมใด กรรมนั้นแลที่บุคคลทำแล้วเป็นความดี
โทษของการไม่ต้อนรับแขก
ดิฉันไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อยู่อาศัย นอนบนเตียงของคนตาย ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ดิฉันเป็นผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ บันเทิงอยู่ เพราะทานของท่านพระสารีบุตร ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันมาครั้งนี้เพื่อจะไหว้ท่านพระสารีบุตรผู้เป็นนักปราชญ์
วิบากกรรมของการพูดเพ้อเจ้อ
มีดที่ลับคมดีแล้ว ถึงจะเหมือนยาพิษที่ร้ายแรง ก็ไม่ทำให้ตายสนิทในทันทีทันใดเหมือนกับคำพูดชั่ว
อานิสงส์ทำบุญถูกเนื้อนาบุญ
บุคคลควรนำสมบัติออกด้วยการให้ทาน เพราะสิ่งที่ให้แล้วได้ชื่อว่านำออกดีแล้ว ทานวัตถุที่บุคคลให้แล้วนั้น ย่อมมีสุขเป็นผล ส่วนที่ยังไม่ได้ให้ ย่อมไม่เป็นเหมือนอย่างนั้น
อานิสงส์สร้างเจดีย์เป็นพุทธบูชา
ผู้ใดบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก แม้ยังดำรงพระชนม์อยู่หรือว่าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วก็ตาม ถ้าหากว่าได้บูชาพระบรมสารีริกธาตุมีประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดด้วยจิตอันเลื่อมใส ผลแห่งบุญนั้นก็มีค่าเสมอกัน เพราะฉะนั้นท่านจงทำพระสถูปเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วตั้งใจบูชาด้วยจิตที่เลื่อมใสเถิด ผลบุญเป็นอันมากก็จะเป็นของท่าน
วานรินทชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของผู้ล่วงพ้นศัตรู
พุทธกาลสมัยในขณะที่พระธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขจรขจายไปทั่วแว่นแคว้นดินแดนชมพูทวีป ยังความร่มเย็นเป็นสุขด้วยรสแห่งธรรมที่องค์พระศาสดาตรัสรู้นั้น แผ่นดินมคธกลับผลัดเปลี่ยนอำนาจจากพระเจ้าพิมพิสารอันเป็นองค์ศาสนูปถัมภกมาเป็นโอรสนามพระเจ้าอชาตศัตรู
เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา
“ดูก่อนภิกษุในศาสนาของเรานี้ ล้วนสรรเสริญคุณของความเป็นผู้มักน้อย สันโดษ รักสงบ เพียรผลาญกิเลสให้สิ้นไปมิใช่หรือ? แล้วทำไมท่านกลับถึงทำสิ่งไม่ควรเช่นนี้เล่า” พระภิกษุเจ้าสำรวย ได้ฟังคำพระพุทธเจ้าแล้ว แทนที่จะสำนึกผิดกลับบันดาลโทสะ ประชดประชัน ทำสิ่งมิควรอีก
เปรตกับอสุรกายต่างกันตรงไหน
โดยรูปลักษณ์แล้ว เปรตกับอสุรกายมีความคล้ายกันมาก แต่ว่าอสุรกายนั้นจะมีรูปร่างที่พิลึกประหลาดมากกว่า อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็ยากที่จะแยกให้เห็นความแตกต่างได้ ในการพิจารณาจึงให้ดูที่ลักษณะของทุกขเวทนาที่ได้รับ ความทุกข์ทรมานของเปรตนั้น เนื่องมาจากความหิว ความอดอยากเข้าครอบงำเป็นหลัก ส่วนอสุรกายนั้น มีความทุกข์ทรมานเพราะความกระหายน้ำเป็นหลัก สัตว์ในภูมิทั้ง 2 นี้ ต้องประสบกับความลำบากในการครองชีวิตอย่างแสนสาหัส เพราะว่าเขาเป็นสัตว์ในอบายภูมิ คือ ภูมิที่มีแต่ความชั่วร้าย ไม่มีความสุขนั่นเอง
เวฬุกะชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการเป็นผู้ว่ายากสอนยาก
ครั้งอดีตกาล ณ พระเชตะวัน มหาวิหารอันสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนาได้เกิดเรื่องราวมิงามของภิกษุผู้ว่ายากอยู่ท่านหนึ่ง ไม่ว่าใครจะว่ากล่าวตักเตือนอย่างไรก็ตามท่านก็มิเคยฟัง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระกรุณาธิคุณให้ภิกษุรูปหนึ่งเข้าเฝ้า เพื่อปลดโทษให้
สละชีวิตเป็นทาน (ปรมัตถบารมี)
มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาความสุข ความอบอุ่นใจ และความปลอดภัยในชีวิต ทุกคนพยายามเสาะแสวงหาที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง แต่หลายชีวิตไม่อาจรู้ว่า